เหตุการณ์ ของ ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560

เดือนตุลาคม

  • วันที่ 30 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ[1]

เดือนพฤศจิกายน

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรง 4–11 พฤศจิกายน

  • วันที่ 4 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย" ฉบับที่ 1 โดยได้ระบุว่าความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระหว่างวันที่ 7–9 พฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้มีฝนฟ้าคะนองและมีลมแรง จากนั้นอากาศจะเย็นลง 3–5 องศาเซลเซียส เริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะต่อไป[12]
  • วันที่ 5 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศต่อมาในฉบับที่ 2 และ 3[13][14]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 4 และ 5 ตามมา[15][16] จากนั้นในช่วงเย็นได้มีประกาศฉบับที่ 6 ออกมา โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนกลางแล้ว ซึ่งจะลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 7–11 พฤศจิกายน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในตอนแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3–5 องศาเซลเซียส โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วจึงมาที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกต่อไป[17]
  • วันที่ 7 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 7, 8 และ 9[18][19][20] ต่อมาในประกาศฉบับที่ 10 กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้ลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว โดยจะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมแรง จากนั้นอากาศจะเย็นลง 3–5 องศาเซลเซียส โดยมีผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 7–8 พฤศจิกายน และมีผลกระทบกับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในวันที่ 8–10 พฤศจิกายน ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง[21]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประเทศฉบับที่ 11, 12 และ 13[22][23][24] ต่อมาในช่วงดึก กรมอุตุฯ ได้ออกประกาศฉบับที่ 14 โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้ปกคลุมอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางแล้ว โดยจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง ลมแรงในตอนแรก จากนั้นอากาศจะเย็นลง โดยส่งผลกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือวันที่ 8–9 พฤศจิกายน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีผลกระทบในวันที่ 8–10 พฤศจิกายน ส่วนบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง[25]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 14, 15, 16 และ 17[26][27][28][29] ต่อมาในช่วงกลางดึกฉบับที่ 18 ระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนอยู่ ซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง อากาศเย็นลง 2–4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีฝนต่อไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน หลังจากนั้นฝนจะลดลงและอากาศจะเย็นลงเล็กน้อย[30]
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 19 และ 20[31][32] และในช่วงเย็นได้ออกประกาศฉบับที่ 21 โดยระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางในช่วงกลางคืนวันเดียวกัน โดยจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง อุณหภูมิลดลงได้ 1–3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีฝนต่อไปในวันนี้ หลังจากนั้นฝนจะลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส และยังมีการเตือนให้เกษตรกรระวังความเสียหายจากผลผลิตทางการเกษตร[33]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 22[34] และต่อมาได้ออกฉบับสุดท้าย โดยระบุว่าบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนลดลง แต่ภาคเหนือยังมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก โดยอุณหภูมิจะลด 1–3 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นในตอนเช้า[35]

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรง 21–25 พฤศจิกายน

  • วันที่ 22 พฤศจิกายน ดอยอินทนนท์วัดอุณหภูมิได้ 0 องศาเซลเซียส ทั้งยังเกิดเหมยขาบ ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณยอดดอยและจุดชมวิวกิ่วแม่ปาน[36]
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมอยู่บริเวณตอนบนของประเทศลาวและทะเลจีนใต้ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันเดียวกัน ทำให้อุณหภูมิลดลง 4–6 องศาเซลเซียส และปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในวันถัดไป ขณะที่มีกระแสลมตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ทำให้มีอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง[37]

เดือนธันวาคม

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เดือนมกราคม

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เดือนกุมภาพันธ์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เดือนมีนาคม

  • วันที่ 3 มีนาคม สิ้นสุดฤดูหนาว[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 http://www.manager.co.th/ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsI... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-...